ประเภทการชำระเงินในใบเสนอราคา

วันนี้เราจะมาอธิบายความแตกต่างของการสร้างใบเสนอราคาและใบวางบิลว่าทั้ง 4 แบบ ใช้และแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

 

  1. เก็บเต็มจำนวน
    คือการสร้าง “ใบเสนอราคา” แล้วลูกค้ายืนยันว่าจะรับสินค้าตาม “ใบเสนอราคา” นั้น และพร้อมที่จะจ่ายเงินเต็มจำนวนตามกำหนดชำระ

    ตัวอย่าง
    มีบริษัท ก ทำ “ใบเสนอราคา” รถยนต์ 10 คัน ให้บริษัท ข แล้วบริษัท ข ตกลงรับตาม “ใบเสรอราคา” ของบริษัท ก  และจะจ่ายเงินเต็มจำนวนทีเดียวเมื่อถึงกำหนดชำระ
  2. แบ่งตามสินค้า/มัดจำ
    คือการทำ “ใบวางบิล” โดยแบ่ง “ใบวางบิล” ตามมัดจำและ/หรืองวดในการส่งสินค้า

    ตัวอย่าง
    บริษัท ก “ทำใบเสนอราคา” รถจักรยาน 20 คัน ให้บริษัท ข

    และบริษัท ข ได้ตกลง แต่แบ่งส่งเป็นรอบแรก โดยส่งมา 15 คัน
    ทางบริษัท ก จะทำ “ใบวางบิล” ของรถจักรยาน 15 คัน ส่งไปพร้อมรถจักรยาน จากนั้นรอบที่สองจะส่งรถจักรยานอีก 5 คัน ก็ทำ “ใบวางบิล” ของรถจักรยาน 5 คันนั้นส่งไปพร้อมรถจักรยาน
  3. ชำระเงินเป็นงวด (%)
    คือการทำใบวางบิลตามจำนวนการบริการที่ได้ให้บริการ หรือการขายสินค้าที่มีการบริการพ่วงมาด้วย


    ตัวอย่าง
    ร้านนาย ก ให้บริการนวด 5,000 บาท โดยจะแบ่งการนวดเป็น 2 ครั้ง ตามที่ได้ลงไว้ใน “ใบเสนอราคา” ต่อมาร้านนาย ก ได้ให้บริการกับบริษัท ข โดยให้บริการครั้งแรกไปแล้วจึงได้ทำ “ใบวางบิล” ให้
    ต่อมาร้านนาย ก ให้บริการครั้งที่ 2 จนเสร็จเรียบร้อยตาม “ใบเสนอราคา” และร้านนาย ก ได้ทำ “ใบวางบิล” งวดสุดท้าย
     
  4. กำหนดเองตามใบวางบิล
    คือการสร้างใบวางบิลโดยไม่สน “ใบเสนอราคา” ว่าจะมีรายการอะไรบ้าง
    ตัวอย่าง
    บริษัท ก เสนอราคารถจักรยานไป 5 คัน แต่เมื่อคุยกับบริษัท ข แล้ว บริษัท ข ต้องการรถจักรยานแค่คันเดียว 
    บริษัท ก จึงทำ “ใบวางบิล” ให้บริษัท ข ที่มีรายการรถจักรยาน 1 คัน
  5. โดยสรุป
    1. เก็บเต็มจำนวน
    เป็นการทำใบวางบิลที่อ้างอิงจากใบเสนอราคา และไม่มีการแยกใบวางบิลหลายใบ
    2. แบ่งตามสินค้า/มัดจำ
    เป็นการทำใบวางบิลที่อ้างอิงจากใบเสนอราคา แต่จะแยกใบวางบิล ตามเงินมัดจำหรือจำนวนงวดที่ส่งสินค้า
    3. ชำระเงินเป็นงวด (%)
    เป็นการทำใบวางบิลที่อ้างอิงจากใบเสนอราคา แต่จะแยกใบวางบิล ตามเงินมัดจำ และ/หรือความสำเร็จของการให้บริการที่ทางคู่ค้าได้ตกลงไว้
    4. กำหนดเองตามใบวางบิล
    เป็นการทำใบวางบิลที่ไม่สนใจรายละเอียดการขายของใบเสนอราคา และทำใหม่ตามความต้องการของลูกค้าและคู่ค้า***ทั้งหมดนี้คือหลักการใช้และข้อแตกต่างระหว่างเมนูการสร้างใบเสนอราคาและใบวางบิลตามแต่ละความต้องการของลูกค้าต่อการทำธุรกิจหลากหลายประเภท***

บทความนี้แก้ปัญหาให้ท่านได้หรือไม่?

บทความที่เกี่ยวข้อง